Devops อาจจะเป็นชื่อตำแหน่งที่หลายคนคงเห็นผ่านตากันมาแล้วหลายครั้งในหน้าประกาศรับสมัครงานแต่ก็ยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว Devops คือตำแหน่งอะไร มีหน้าที่อย่างไรบ้างและจะเหมือนกับงาน software tester หรือไม่ ดังนั้นในบทความนี้เราจึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Devops ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญของงาน Devops คุณสมบัติที่ Devops ควรจะมีรวมไปถึงขั้นตอนการทำงานของ Devops ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์บ้างไปติดตามกันได้เลย
Devops คือ ตำแหน่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีม Software Development และทีม IT Operation ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายหลักในการทำงานของ Devops คือ พัฒนาซอฟต์แวร์หรือออกแบบแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานภายในองค์กร รวมถึงส่งออกตลาดให้ได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์แบบมากที่สุด เป็นตำแหน่งสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหานำส่งงานล้าช้าเพราะมีปัญหาด้านการสื่อสารระหว่าง 2 ทีม Devops จะช่วยเข้ามาเป็นตัวกลางให้สภาพแวดล้อมของการทำงานราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ก่อนที่จะอธิบายหน้าที่หลักของ Devops เราจะมาทำความเข้าใจการทำงานของทีมพัฒนาซอฟต์แวร์กันก่อน เพราะโดยทั่วไปแล้วการพัฒนาซอฟต์แวร์จะอาศัยทีมในการพัฒนา 2 ทีม นั้นก็คือทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Developer) และทีมปฏิบัติการด้าน IT (IT Operation) โดยทีมซอฟต์แวร์จะรับผิดชอบการออกแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ UI หรือ UX ส่วนทีมปฏิบัติการก็จะมีหน้าที่รับผิดชอบการทดสอบและเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ไม่ว่าจะเป็นด้านความเสถียร ด้านกลไกรักษาความปลอดภัย หรือด้านการจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
ด้วยการทำงานที่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลมากกว่า 1 ตำแหน่ง ทำให้อาจส่งผลให้เกิดการทำงานแบบกระจัดกระจาย มีปัญหาด้านการสื่อสาร เข้าใจงานไม่ตรงกัน ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ค่อนข้างสูง ดังนั้นหน้าที่หลักของ Devops คือส่งเสริมการทำงานของทั้งทีมซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติการให้มีความราบรื่นมากยิ่งขึ้นนั้นเอง โดย Devops จะดูแลงานในด้านการออกแบบระบบทดสอบการใช้งานซอฟต์แวร์ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้ซอฟต์แวร์อีกทั้งยังดูแลการประสานงานระหว่างทีมซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติการเพื่อให้สามารถออกแบบระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย
อย่างที่กล่าวไปแล้วในตอนต้นว่าหน้าที่หลักของ Devops คือ การช่วยทีมซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติการสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างลื่นไหลมากขึ้น โดย Devops จะมีขั้นตอนการทำงานที่จะช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ดังต่อไปนี้
1. ขั้นตอนแรกในการทำงานของ Devops คือการวางแผน เพราะ Devops จะต้องวางแผนและรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงขั้นตอนการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น การรวบรวมข้อมูลรายละเอียดของซอฟต์แวร์ การวางแผนพัฒนาซอฟต์แวร์ รวมไปถึงการพูดคุยถึงแนวทางการแก้ไขกรณีซอฟต์แวร์มีปัญหา เป็นต้น
2. การพัฒนาซอฟต์แวร์ หลังจากที่ Devops ได้วางแผนขั้นตอนการทำงานร่วมกับทีมต่าง ๆ แล้ว ขั้นตอนต่อไปนั้นก็คือการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดย Devops จะนำการเขียนโค้ดมาใช้ร่วมกับการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เป็นไปตามที่ได้วางแผนไว้
3. การทดสอบซอฟต์แวร์ เมื่อ Devops ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกับทุกฝ่ายแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพนั้นก็คือการทดสอบหรือการตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โดย Devops จะต้องตรวจสอบซอฟต์แวร์ให้ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการทดสอบฟังก์ชัน การทดสอบความปลอดภัย รวมไปถึงการทดสอบความเข้ากันได้ของระบบปฏิบัติการ เป็นต้น
4. การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ เพราะหน้าที่ของ Devops ไม่ได้จบเพียงแค่การพัฒนาซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่การดูแลรักษาซอฟต์แวร์ก็ยังเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนการทำงานที่สำคัญของ Devops โดยในขั้นตอนนี้ Devops จะต้องคอยพัฒนา แก้ไขข้อผิดพลาด อีกทั้งเพิ่มเติมฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการใช้งานอีกด้วย
หลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อดีของ Devops คือการช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์และช่วยให้ทีมซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติการทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น แต่ในความเป็นจริงแล้วตำแหน่ง Devops ไม่ได้มีข้อดีเพียงแค่นี้แต่จะมีข้อดีอะไรอีกบ้างไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย
อีกหนึ่งข้อดีที่เห็นได้ชัดของ Devops คือความรวดเร็วในการส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้า เพราะ Devops จะช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานระหว่างทีมซอฟต์แวร์และทีมปฏิบัติการ อีกทั้ง Devops ยังช่วยทดสอบและปรับปรุงการพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งผลให้องค์กรรวมไปถึงลูกค้าสามารถปล่อยฟีเจอร์ใหม่ ๆ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้อีกด้วย
ข้อดีอีกหนึ่งอย่างของตำแหน่ง Devops ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้นั้นก็คือการช่วยพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพของซอฟต์แวร์ เพราะตำแหน่ง Devops มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ทีมสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างทันทีอีกทั้งยังช่วยลดโอกาสในการปล่อยซอฟต์แวร์ที่มีข้อผิดพลาดออกไปได้อีกด้วย
อีกหนึ่งข้อดีของ Devops ที่ใครหลายคนคาดคิดไม่ถึงนั้นก็คือการลดค่าใช้จ่าย เพราะหน้าที่ของ Devops คือการช่วยตรวจสอบข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์และแก้ไขอย่างทันทีทำให้องค์กรหรือบริษัทสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนอีกทั้งยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในภายหลังได้ ดังนั้นนอกจากจะได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพแล้ว Devops ยังช่วยลดต้นทุนให้กับองค์กรได้อีกด้วย
แน่นอนว่าการส่งมอบซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วย่อมส่งผลให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้อย่างทันเวลาแล้วลูกค้ายังได้รับฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งความพึงพอใจของลูกค้านี้เองที่จะส่งผลดีกับองค์กร ทั้งในด้านความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ารวมไปถึงความได้เปรียบด้านการแข่งขัน
เพราะตำแหน่ง DevOps คือตำแหน่งที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้งานซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องและเป็นการทดสอบแบบอัตโนมัติ ดังนั้นกระบวนการทำงานของ DevOps จึงสามารถช่วยองค์กรระบุปัญหาการใช้งานซอฟต์แวร์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งแก้ไขก่อนที่ปัญหานั้นจะบานปลายกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรงและส่งผลกระทบในวงกว้าง
อ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสนใจงานในตำแหน่ง DevOps แต่ยังไม่รู้ว่าคุณสมบัติที่ DevOps ควรมีคืออะไรบ้าง ดังนั้นในบทความนี้เราจึงรวบรวม 4 คุณสมบัติที่ DevOps ควรมีมาฝากผู้ที่สนใจ โดยจะมีคุณสมบัติใดบ้างไปติดตามกันเลย
1. มีทักษะ Computer Infrastructure เพราะเป็นทักษะพื้นฐานที่จะช่วยให้เราสามารถทำงานตำแหน่งนี้ได้ อาทิการนำ Application ขึ้นไปทำงานบน Deployment Platform หรือการตั้งค่า DNS เมื่อต้องการเชื่อมต่อ Platform เข้ากับ Network เป็นต้น
2. มีแนวคิดแบบ Agile Methodology เนื่องจากแนวคิดแบบนี้เป็นแนวคิดที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักของงาน DevOps นั้นเอง
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Computer Security เพราะในบางครั้ง DevOps ก็จะต้องเป็นผู้ติดตั้ง Firewall ซึ่งหมายถึงซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่จะช่วยตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านกันในระบบเครือข่าย ดังนั้นหาก DevOps ไม่มีความรู้ความเข้าใจด้าน Computer Security ก็อาจจะทำให้ตั้งค่า Firewall ผิดพลาดจนมีข้อมูลรั่วไหลได้
4. มีความเข้าใจด้าน Tools & Technology เพราะตำแหน่ง DevOps คือตำแหน่งที่จะต้องคอยพัฒนาซอฟต์แวร์ ดังนั้นการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคโนโลยีด้านการพัฒนา Software Development แบบใหม่ ๆ ก็จะยิ่งทำให้เราสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
Devops คือตำแหน่งหนึ่งที่มีหน้าที่หลักในการตรวจสอบและพัฒนาการใช้งานซอฟต์แวร์ โดย Devops ถือเป็นอีกตำแหน่งที่มีความสำคัญในวงการ IT เพราะนอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพของซอฟต์แวร์แล้ว Devops ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการส่งมอบซอฟต์แวร์อีกทั้งยังช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนรวมไปถึงลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อีกด้วย
อ่านมาจนถึงตรงนี้องค์กรไหนที่กำลังมองหา Devops Outsource อยู่แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกที่ไหนดี Cube SoftTech ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะเป็นบริษัทส่งออก Devops ที่มีประสบการณ์ในการร่วมงานกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ มากมายแล้ว Cube SoftTech ยังมีบริการ IT Staff Outsourcing อีกหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น Web Developer หรือMobile App development เป็นต้น องค์กรไหนที่สนใจใช้บริการ IT Staff Outsourcing ก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ www.cubesofttech.com/index.php ได้เลย