BLOG

Professional IT People ~ Innovative IT Solutions
IT Staff Outsourcing Services | IT consultants | Custom Software Solutions

Tags :

Automation Testing ระบบทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ คืออะไร?

SHARES               



การพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) จะต้องมีขั้นตอนการทดสอบก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่จะช่วยป้องกันข้อผิดพลาดในการออกแบบและพัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี หนึ่งในวิธีการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน ก็คือ "Automation Testing" หรือการทดสอบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่รวดเร็ว แม่นยำ และเชื่อถือได้


หากคุณต้องการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ให้มากที่สุด การเรียนรู้หลักการพื้นฐานคือจุดเริ่มต้นที่จะช่วยให้ใช้ระบบ Automation Testing ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่คุณต้องการ เพราะฉะนั้นในบทความนี้ เราจะช่วยให้คุณไปทำความรู้จักและเข้าใจรายละเอียดของระบบอัตโนมัตินี้ให้มากขึ้น ทั้งในด้านประโยชน์การใช้งาน แนวทางการใช้งานที่เหมาะสม และขั้นตอนการทำงานแบบละเอียด

ความหมายของ Automation Testing คืออะไร?

automated testing

Automation Testing คือ กระบวนการทดสอบซอฟต์แวร์รูปแบบหนึ่ง โดยผู้ที่ทำการทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) จะใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่ว่านี้มาเป็นตัวช่วยในการทำการทดสอบ ทำให้ระบบอัตโนมัติเหมาะสำหรับใช้ทดสอบโปรแกรมที่มีความซับซ้อน ซึ่งหากเลือกใช้วิธีการทดสอบด้วยคนหรือแบบ Manual อาจต้องใช้เวลานาน และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้สูง


หากเทียบ Automation Testing กับ Software Testing แบบเดิม ๆ แล้ว จะช่วยให้งานเสร็จไว และลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การทำ Automation Testing ยังช่วยให้สามารถทดสอบซ้ำ ๆ ได้ตามที่ต้องการ และทำให้การเทสระบบมีความแม่นยำมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้กระบวนการทดสอบซอฟต์แวร์อัตโนมัติ ถูกนำมาใช้กับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในยุคปัจจุบันอย่างแพร่หลายนั่นเอง

Automation Testing เหมาะที่จะใช้ทดสอบซอฟต์แวร์ส่วนไหน?

เนื่องจากการทำ Automation Testing จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพในการทดสอบซอฟต์แวร์ได้เป็นอย่างดี แต่ก็จำเป็นต้องนำมาใช้ให้เหมาะกับงานด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ การทำ Automation Testing เหมาะกับการทดสอบซอฟต์แวร์ในหลาย ๆ ส่วน ดังนี้


1. การทดสอบแบบ End-to-End (E2E)


การทดสอบแบบ End-to-End คือกระบวนการทดสอบที่ต้องตรวจสอบการทำงานของระบบตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อดูว่าผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบว่าฟังก์ชันย่อย ๆ มีการเชื่อมต่อและทำงานร่วมกันอย่างถูกต้องมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจำเป็นต้องทำ Automation Testing เพื่อทดสอบกระบวนการที่ซับซ้อนเหล่านี้ให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว


2. การทดสอบ Unit


การทดสอบ Unit เป็นการทดสอบแต่ละหน่วยย่อยของโค้ด เพื่อช่วยให้มั่นใจในคุณภาพของโค้ดแต่ละหน่วย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบ Automated จะช่วยทดสอบ Unit ในระบบได้อย่างรวดเร็วทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงช่วยป้องกันข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดพัฒนาระบบได้นั่นเอง


3. การทดสอบ Integration


การทดสอบ Integration จะพิจารณาไปที่การทำงานร่วมกันของส่วนต่าง ๆ ในระบบ ซึ่งหากขาดการเชื่อมต่อที่ดี ก็ย่อมมีผลต่อการทำงานของซอฟต์แวร์ แต่การทำ Automation Testing จะช่วยให้มั่นใจได้ว่า ส่วนต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อถึงกันและกันอย่างถูกต้อง และครอบคลุมในทุกฟังก์ชันที่ต้องการ


4. การทดสอบประสิทธิภาพ (Performance Tests)


การทดสอบประสิทธิภาพเป็นการทดสอบความเร็วและความเสถียรของระบบในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำ Automated Test เพื่อจำลองสถานการณ์การใช้งานที่มีผู้ใช้จำนวนมาก และตรวจสอบความสามารถในการจัดการของระบบได้


การทดสอบซอฟต์แวร์ส่วนไหนบ้างที่ควรใช้คน

แม้ว่าปัจจุบัน Automation Testing จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะมีส่วนลดความผิดพลาด และเพิ่มความมั่นใจในการพัฒนาระบบได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีงานบางส่วนที่ควรใช้คนในการทำ Software Testing มากกว่า โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรืองานที่จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจของคนเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การพิจารณาความสวยงาม หรือการตรวจสอบขนาดหรือสีของข้อความว่าง่ายต่อการอ่านหรือไม่


ด้วยเหตุนี้ ตำแหน่งงาน Software Tester จึงเป็นตำแหน่งงานที่ได้รับความสนใจมากขึ้น และเติบโตตามการขยายตัวของตลาดพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่งผลให้โอกาสความก้าวหน้าในสายงานนี้ค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยของฐานเงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 30,000-45,000 บาท

วิธีทำ Automation Testing 7 ขั้นตอน

การทำ Automated Testing คือกระบวนการที่มีรายละเอียดเป็นขั้นเป็นตอน โดยสามารถสรุปวิธีการทดสอบอัตโนมัติได้ 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

    1. Tool Selection (การเลือกเครื่องมือ) เครื่องมือที่ใช้ทำ Automation Testing มีหลายตัว และควรเลือกให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและเทคโนโลยีที่ใช้ อีกทั้งต้องพิจารณาตามงบประมาณที่กำหนด
    2. Test Script Development (การเขียน Test Script) หรือการกำหนดกรอบการทดสอบ เพื่อใช้เป็นแผนในการทำ Automation Testing
    3. Test Environment Setup (การตั้งค่าสภาพแวดล้อมทดสอบ) เป็นขั้นตอนที่ต้องกำหนดสภาพแวดล้อมที่ใช้ในการทดสอบให้ใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมการใช้งานจริงมากที่สุด
    4. Test Execution (การทดสอบ) เมื่อเตรียมการในขั้นตอนที่ 1-3 ครบถ้วน จะเริ่มเข้าสู่การทดสอบ Automation Testing ซึ่งจะมีการบันทึกผลที่ได้และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นไว้ทั้งหมด
    5. Result Analysis (การวิเคราะห์ผล) ข้อมูลและข้อผิดพลาดจากการทดสอบจะถูกนำมาวิเคราะห์ผลในขั้นตอนนี้ ทำให้ทราบว่าซอฟต์แวร์ทำงานถูกต้องมากน้อยแค่ไหน หรือมีปัญหาส่วนใดบ้างที่ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงเพิ่มเติม
    6. Defect Management (การจัดการข้อบกพร่อง) ทีมพัฒนาจะเข้ามาแก้ไขข้อบกพร่องหลังการวิเคราะห์ผลเสร็จสิ้น เพื่อให้การพัฒนาซอฟต์แวร์สมบูรณ์แบบอย่างที่ต้องการ
    7. Maintenance (การบำรุงรักษา) เนื่องจากซอฟต์แวร์อาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงต้องอัปเดต Test Script ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และทำให้ขั้นตอนการบำรุงรักษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน

Automation Testing มีประโยชน์ต่อการทำงานอย่างไร

Automation Testing มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดภาระงานของ Software Tester หรือ QA Tester ได้มาก และยังช่วยให้การทดสอบซอฟต์แวร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย สิ่งที่ Automation Testing ช่วยได้ มีดังนี้


  • ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ การทดสอบด้วยคนอาจเกิดความผิดพลาดเนื่องจากความเหนื่อยล้าได้ ทำให้อาจลืมทดสอบในบางขั้นตอน หรือบันทึกผลผิด ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ในการทดสอบซอฟต์แวร์ และส่งผลให้ซอฟต์แวร์ไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ แต่ Automation Testing จะช่วยลดปัญหานี้ได้ เพราะระบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีคำว่าเหนื่อย และมั่นใจได้ว่าการทดสอบในทุกครั้งจะแม่นยำและถูกต้องเสมอ
  • ลดค่าใช้จ่าย ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทอาจต้องจ้าง QA Tester หรือ Software Tester หลายคนในการทำงานทดสอบซอฟต์แวร์ เพราะจำเป็นต้องมีการทดสอบซ้ำ ๆ และทดสอบในหลาย ๆ ขั้นตอน สิ่งเหล่านี้สิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร อีกทั้ง ยังมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอย่างมาก แต่การใช้ Automation Testing จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ เพราะสามารถทำงานแทนคนได้ ดังนั้น การลงทุนในระบบอัตโนมัติอาจใช้เงินลงทุนสูงในช่วงเริ่มต้น แต่ก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องคนในระยะยาวได้อย่างมาก
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้ Automation Testing สามารถช่วยทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง และทำให้มนุษย์สามารถย้ายไปทำงานที่มีความสำคัญ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือต้องใช้การตัดสินใจจากคนแทนได้ ดังนั้น ระบบดังกล่าวจึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรได้เป็นอย่างดี

Automation Testing จำเป็นมากแค่ไหน อยากได้ผู้ช่วยที่ไว้ใจได้เลือกบริษัทไหนดี

Automation Testing คือการทดสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติมาทำงานแทนคน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความเร็ว และความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพซอฟต์แวร์ได้ และยังสามารถทดสอบซ้ำได้บ่อยครั้งอย่างต่อเนื่อง จึงช่วยลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ และช่วยลดต้นทุนในการจ้าง QA Tester หรือ Software Tester ได้


ดังนั้น การนำ Automation Testing มาใช้จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์(SDLC) ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง


Cube SoftTech คือบริษัทที่เชี่ยวชาญในการออกแบบพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ เรามีทีมงานที่มีความรู้และประสบการณ์การทดสอบซอฟต์แวร์ทั้งระบบ Manual และ Automation ทำให้เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยพัฒนาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ IT Outsource ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยเฉพาะ



หากใครอยากเตรียมองค์กรให้พร้อมในโลกธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Cube SoftTech ยินดีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือ เพื่อช่วยสร้างซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงสุด และพร้อมต่อการใช้งานในทุกสถานการณ์

บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความล่าสุด