BLOG

Professional IT People ~ Innovative IT Solutions
IT Staff Outsourcing Services | IT consultants | Custom Software Solutions

image1
Tags :

Diagram เปลี่ยนความคิดให้เป็นภาพ เพื่อระบบการทำงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

SHARES               



ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การสื่อสารกันภายในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์หรืองานไอทีกลายเป็นเรื่องยากและท้าทายมากยิ่งขึ้น ทำให้รูปแบบการสื่อสารด้วย Diagram หรือแผนภาพจึงกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้เหล่านักพัฒนาและทีมงานไอทีสามารถถ่ายทอดไอเดียที่ซับซ้อนให้เป็นภาพที่ทุกคนมองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Diagram คืออะไร

 Diagram คือ

Diagram หรือไดอะแกรม คือเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิดและกระบวนการทำงานออกมาเป็นภาพ ที่จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายสามารถมองเห็นภาพรวมของระบบหรือกระบวนการได้อย่างเป็นรูปธรรม แทนที่จะต้องอ่านเอกสารหรือคำอธิบายที่เป็นตัวอักษรจำนวนมาก การใช้ไดอะแกรมจึงช่วยลดช่องว่างในการสื่อสาร และทำให้การถ่ายทอดแนวคิดที่ซับซ้อนเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยสัญลักษณ์ เส้น และรูปทรงต่าง ๆ มาประกอบกันเป็นแผนภาพที่มีความหมาย


ไดอะแกรมจึงมีส่วนช่วยในการสื่อสารและยังเป็นส่วนสำคัญในการออกแบบระบบ ตั้งแต่การวาด Network Diagram เพื่อวางแผนการเชื่อมต่อเครือข่าย ไปจนถึงการออกแบบฐานข้อมูลและกระบวนการทำงานต่าง ๆ การมีไดอะแกรมที่ดีช่วยให้ทีมสามารถมองเห็นจุดอ่อนหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาจริง


โดยการใช้ Diagram เข้ามาช่วยอธิบายกระบวนการทำงานจะนิยมใช้มากในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development) ที่มีการทำงานค่อนข้างซับซ้อน การนำ Diagram เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยสื่อสารในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่าง SDLC จึงตอบโจทย์มาก


นอกจากนี้ Diagram ยังมีประโยชน์มากๆสำหรับ Business Analyst เนื่องจาก Diagram จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดระเบียบข้อมูลได้เป็นอย่างดี ทำให้ Business Analyst สามารถมองเห็นถึงความต้องการของ User ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ข้อดีของการใช้งาน Diagram Framework

รูปแบบ Diagram

การเลือกใช้ Diagram ที่เหมาะกับงานเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าคุณจะวางแผนพัฒนาภาพรวมระบบที่ใช้ในองค์กร หรือพัฒนาเฉพาะสินค้าหรือบริการบางอย่าง อย่างแอปพลิเคชันในโทรศัพท์ (Mobile App Development) โดยในหัวข้อนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบของไดอะแกรมที่พบเห็นได้บ่อย ซึ่งมีดังนี้


  • ลดช่องว่างในการสื่อสารระหว่างทีมที่มีพื้นฐานความเข้าใจต่างกัน เช่น การประสานงานของทีมด้านไอทีอย่าง Software Tester รวมไปถึงระบบทดสอบซอฟต์แวร์อัติโนมัติ (Automation Testing) และทีมฝั่งดูแลลูกค้า
  • สามารถมองเห็นภาพรวมของระบบและความเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่าง ๆ ได้อย่างครบถ้วน ช่วยในการวางแผนและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทีมสามารถระบุจุดอ่อน ปัญหา หรือโอกาสในการพัฒนาได้ง่ายขึ้น ผ่านการวิเคราะห์รูปแบบและความสัมพันธ์ที่แสดงในแผนภาพ
  • สามารถตรวจพบและแก้ไขปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ ช่วยลดความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

รูปแบบของ Diagram ที่พบได้บ่อย

การใช้ Diagram Framework นั้นเหมือนการมีเครื่องมือที่ช่วยจัดระเบียบความคิดและกระบวนการทำงานให้เป็นระบบ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน การใช้ Diagram Framework ต่าง ๆ มีข้อดี ดังนี้


Flowchart


Flowchart เป็น Flow Diagram ที่นำเสนอลำดับขั้นตอนการทำงาน โดยใช้สัญลักษณ์พื้นฐานที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น วงรีสำหรับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด กล่องสี่เหลี่ยมสำหรับแสดงขั้นตอนการทำงาน รูปข้าวหลามตัดสำหรับจุดตัดสินใจ และลูกศรที่แสดงทิศทางการไหลของกระบวนการ การใช้สัญลักษณ์เหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถติดตามลำดับขั้นตอนการทำงานได้อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดสิ้นสุด


จุดเด่นของ Flowchart อยู่ที่การนำเสนอภาพรวมของระบบหรือกระบวนการทำงานในระดับมหภาค โดยไม่ลงลึกถึงรายละเอียดการทำงานในแต่ละขั้นตอน จึงเป็นเหมือน Activity diagram ที่แสดงถึงกิจกรรมของระบบ ทำให้ Flowchart เป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับสื่อสารแนวคิดและกระบวนการทำงานให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าจะมีพื้นฐานทางเทคนิคมากน้อยเพียงใด


UML Diagram


UML Diagram เป็นภาษามาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบและสร้างแบบจำลองระบบซอฟต์แวร์ โดยปัจจุบันประกอบด้วยแผนภาพ 14 ประเภท แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่


  • Structure ไดอะแกรมแผนภาพโครงสร้าง เช่น Class Diagram แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคลาสและอินเตอร์เฟซในระบบเชิงวัตถุ, Component ไดอะแกรมแสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบและความสัมพันธ์ระหว่างกัน, Composite Structure ไดอะแกรมแสดงโครงสร้างภายในและการทำงานร่วมกับสภาพแวดล้อม
  • Behavioral ไดอะแกรมแผนภาพพฤติกรรม เช่น Activity Diagram แสดงขั้นตอนการทำงานแบบลำดับขั้นจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดแบบเข้าใจง่าย, Use Case ไดอะแกรมอธิบายความต้องการของระบบในมุมมองของผู้ใช้งาน, Interaction Overview ไดอะแกรมแสดงภาพรวมการควบคุมการทำงานระหว่างไดอะแกรม, Timing ไดอะแกรมแสดงพฤติกรรมของระบบในมิติของเวลา ผ่านเส้นกราฟรูปคลื่นเพื่อให้เข้าใจว่าการทำงานพาร์ตไหนอยู่ช่วงเวลาไหน

Entity-Relationship Diagram (ER Diagram)


ER ไดอะแกรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการออกแบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ใช้สำหรับวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ โดย ER ไดอะแกรมแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ ผ่านการนำเสนอในรูปแบบของเอนทิตี้ (Entity) ที่เป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละประเภท พร้อมด้วยแอตทริบิวต์ (Attribute) ที่อธิบายคุณลักษณะของเอนทิตี้นั้น ๆ นอกจากนี้ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ (Relationship) ระหว่างเอนทิตี้ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบ


ความพิเศษของ ER ไดอะแกรมอยู่ที่ความสามารถในการแปลงแผนภาพให้กลายเป็นโครงสร้างฐานข้อมูลที่ใช้งานได้จริง โดย ER ไดอะแกรมสามารถนำไปสร้างเป็นคำสั่ง Structured Query Language (SQL) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์เพื่อสร้างตารางและกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลได้โดยตรง ทำให้การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

Diagram ตัวช่วยเพื่อการพัฒนาระบบการทำงานที่เหนือกว่า!

การใช้ Diagram เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบงานสมัยใหม่ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมโดยเฉพาะในกลุ่ม Web Developer และทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ เพราะช่วยให้การวางแผนและออกแบบระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์ ซึ่ง Cube SoftTech ก็เป็นบริษัท IT Service ชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และให้บริการ IT Staff Outsourcing จึงพร้อมที่จะช่วยยกระดับระบบ IT ขององค์กรของคุณด้วยทีมงานมืออาชีพที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ พร้อมนำเสนอโซลูชันที่ตอบโจทย์การทำงานยุคดิจิทัลอย่างครบวงจร