BLOG

Professional IT People ~ Innovative IT Solutions
IT Staff Outsourcing Services | IT consultants | Custom Software Solutions

what-is-iot
Tags :

IoT คืออะไร? ยกระดับการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี

SHARES               



ถ้าให้พูดถึงเทคโนโลยีเพื่ออนาคต ในยุคที่ทุกอย่างจะต้อง SMART, Function และ Remote access ณ ตอนนี้ เห็นทีจะไม่พูดถึงระบบ "IoT" ก็คงจะไม่ได้ แม้จะถูกพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง และถูกนำมาใช้จริงแล้วในหลาย ๆ เทคโนโลยี แต่ใครหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ที่เราใช้กันอยู่ ถูกพัฒนาขึ้นด้วยระบบ IoT นี้เอง


ในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับเทคโนโลยี IoT นวัตกรรมที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ตั้งแต่บ้านอัจฉริยะที่สามารถควบคุมได้ผ่านสมาร์ตโฟน ไปจนถึงระบบการเกษตรที่ใช้เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมแบบเรียลไทม์

IoT คืออะไร

ระบบ IoT

ระบบ IoT (Internet of Things) หรือ "อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง" พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ที่มีระบบประมวลผลและสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ทำให้สามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ได้จากระยะไกลเช่น การควบคุมอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศผ่านสมาร์ตโฟน หรือระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่ทำงานตามค่าความชื้นในดิน เป็นต้น

เทคโนโลยี IoT มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า IoT คืออะไร ถัดไปเราจะมาดูองค์ประกอบของ IoT (Internet of Things) กันว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละส่วนมีหน้าที่และความสำคัญอย่างไร


  • อุปกรณ์ที่ใช้งาน Internet of Things
    อุปกรณ์ IoT เป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการเก็บข้อมูลและควบคุมการทำงานต่าง ๆ โดยจะมีเซนเซอร์หรืออุปกรณ์ตรวจจับที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง หรือการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ควบคุมที่สามารถสั่งการทำงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับคำสั่งเช่น การเปิด-ปิดไฟ การควบคุมประตู หรือการปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

  • อุปกรณ์ของผู้ใช้งาน (User)
    อุปกรณ์ของผู้ใช้งานคือส่วนที่ใช้ในการควบคุมและตรวจสอบสถานะของระบบ IoT โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่มีแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมระบบติดตั้งอยู่

    ผู้ใช้งานสามารถสั่งการและรับข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ได้ผ่านแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ รวมถึงยังสามารถตั้งค่าการทำงานอัตโนมัติหรือดูประวัติการทำงานย้อนหลังได้อีกด้วย

  • เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ IoT กับระบบอินเทอร์เน็ต โดยจะทำการแปลง Protocol การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ที่อาจใช้มาตรฐานการสื่อสารที่แตกต่างกัน เช่น Zigbee, Z-Wave หรือ Bluetooth ให้สามารถส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้ นอกจากนี้แล้ว เกตเวย์ยังช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและจัดการการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบอีกด้วย

  • เครื่อง Server (Broker) เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะเป็นศูนย์กลางในการประมวลผลและจัดการข้อมูลของระบบ IoT ทั้งหมด ทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ มาประมวลผล จัดเก็บ และส่งต่อไปยังผู้ใช้งานหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบ นอกจากนี้ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย การสำรองข้อมูล และการจัดการผู้ใช้งาน รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างรายงานหรือแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้

IoT มีหลักการทำงานอย่างไร?

นอกจาก IoT คืออะไรแล้ว อีกหนึ่งคำถามที่มักได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ คือ IoT ทํางานอย่างไร โดยหลักการทำงานของ IoT จะเริ่มต้นจากอุปกรณ์ IoT ที่มีเซนเซอร์จะทำการเก็บข้อมูลต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น หรือการเคลื่อนไหว จากนั้นจะส่งข้อมูลผ่านเกตเวย์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณและ Protocol ให้สามารถส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้


ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์กลางเพื่อประมวลผลและจัดเก็บ โดยระบบจะวิเคราะห์ข้อมูลตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เช่น หากอุณหภูมิสูงเกินกำหนด ระบบจะส่งคำสั่งกลับไปยังอุปกรณ์ควบคุมให้เปิดเครื่องปรับอากาศโดยอัตโนมัติ


ผู้ใช้งานสามารถควบคุมและตรวจสอบสถานะของระบบได้ผ่าน Mobile application ซึ่งจะแสดงข้อมูลแบบเรียลไทม์และอนุญาตให้ผู้ใช้สั่งการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้จากทุกที่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การทำงานทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ของ IoT คืออะไร?

อุปกรณ์ IoT

ประโยชน์ของ IoT นั้นมีมากมายหลายด้าน โดยจะช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายขึ้นผ่านระบบบ้านอัจฉริยะ (Smart Home) ที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากระยะไกล อีกทั้งยังช่วยประหยัดพลังงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติที่ทำงานตามการตั้งค่าที่เหมาะสม


ในด้านอุตสาหกรรม IoT จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผ่านระบบตรวจสอบและควบคุมอัตโนมัติ ทำให้สามารถคาดการณ์และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า รวมถึงช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ


ยิ่งไปกว่านั้นระบบ IoT ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยช่วยจัดการระบบขนส่ง การใช้พลังงาน และการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านระบบดูแลสุขภาพอัจฉริยะที่สามารถติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

คนกลุ่มไหนบ้างที่ใช้งาน Internet of Things

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า Internet of Things คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน IoT Technology ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วน ดังนี้


  • ภาคครัวเรือน
    ใช้ระบบ IoT ในการสร้าง Smart Home เพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านเช่น ไฟ แอร์ หรือระบบรักษาความปลอดภัย

  • ภาคอุตสาหกรรมการผลิต
    มีการใช้ระบบ IoT เข้ามาควบคุมคุณภาพและตรวจสอบระบบการผลิต

  • ภาคการเกษต ใช้ระบบ IoT สร้างระบบควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยอัตโนมัติ ติดตามสภาพแวดล้อมภายในฟาร์ม รวมไปถึงการสร้างโรงเรือนอัจฉริยะ

  • ด้านการแพทย์ มีการใช้อุปกรณ์ IoT ในการติดตามสุขภาพของผู้ป่วยรายบุคคล รวมไปถึงระบบการจัดการคลังยาและจ่ายยาอัตโนมัติ

  • ภาคโลจิสติกส์ จะมีการวางระบบ IoT เพื่อติดตามพาหนะขนส่ง เพื่อติดตามสถานะการจัดส่ง รวมไปถึงการจัดการคลังสินค้าอัตโนมัติ และการจัดการเส้นทางในการขนส่งสินค้า

ตัวอย่างอุปกรณ์ IoT ในชีวิตประจำวัน

ตัวอย่าง IoT

อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วว่า Internet of Things คือเทคโนโลยีที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน IoT Technology ก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วน ดังนี้


  • สมาร์ตวอทช์ (Smart Watch)
    ใเป็นนาฬิกาอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านบลูทูธ โดยมีเซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหว อัตราการเต้นของหัวใจ และคุณภาพการนอน ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปประมวลผลบนคลาวด์เพื่อแสดงผลและวิเคราะห์สุขภาพของผู้ใช้งาน

  • เครื่องปรับอากาศอัจฉริยะ (Smart Air Conditioner)
    มีระบบควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด ปรับอุณหภูมิ และตรวจสอบการใช้พลังงาน รวมถึงแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลาล้างเครื่องหรือเปลี่ยนไส้กรอง ช่วยให้ประหยัดพลังงานและดูแลรักษาได้ง่ายขึ้น

  • กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ (Smart CCTV) สามารถดูภาพสดผ่านแอปพลิเคชัน บันทึกวิดีโอเมื่อตรวจจับความเคลื่อนไหว และส่งการแจ้งเตือนไปยังสมาร์ตโฟนได้ทันที มีระบบจดจำใบหน้าและการวิเคราะห์พฤติกรรมที่น่าสงสัย ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน

  • หลอดไฟอัจฉริยะ (Smart Light Bulb) สามารถควบคุมการเปิด-ปิด ปรับความสว่าง และเปลี่ยนสีผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงการตั้งเวลาการทำงานอัตโนมัติ บางรุ่นสามารถทำงานร่วมกับระบบสั่งการด้วยเสียงและปรับตามสภาพแสงธรรมชาติเพื่อประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

  • ลำโพงอัจฉริยะ (Smart Speaker) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ IoT อื่น ๆ ในบ้านด้วยการสั่งการด้วยเสียง สามารถเปิดเพลง ตั้งนาฬิกาปลุก แจ้งสภาพอากาศ และควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ไฟ เครื่องปรับอากาศ หรือทีวีเป็นต้น

IoT คืออะไร? นวัตกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต

หลายคนคงได้ทำความเข้าใจกันไปแล้วว่า IoT คืออะไร ซึ่งถ้าจะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันได้ โดยอาศัยเซนเซอร์ในการเก็บข้อมูล ระบบประมวลผลกลางในการวิเคราะห์ และอุปกรณ์ควบคุมที่ทำงานตามคำสั่ง ทำให้เราสามารถควบคุมและตรวจสอบการทำงานได้จากระยะไกลผ่าน Mobile Application


ซึ่งการพัฒนาระบบ IoT นั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน Software Development และ Hardware ซึ่ง Cube SoftTech เป็นบริษัท IT Outsource ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบมากกว่า 10 ปี พร้อมให้บริการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันแบบครบวงจร ด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น Mobile Application, Web Application, หรือระบบ IoT