BLOG

Professional IT People ~ Innovative IT Solutions
IT Staff Outsourcing Services | IT consultants | Custom Software Solutions

Tags :

SDLC คืออะไร? ทำความเข้าใจกับขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์

SHARES               



การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้จริงเป็นเรื่องท้าทาย เดิมทีแล้วกระบวนการสร้างซอฟต์แวร์นั้นมีขั้นตอนการดำเนินการที่มีความซับซ้อน ทำให้ต้องการกำหนด Software Development Life Cycle (SDLC) ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากล


ในบทความนี้จะพาทุกคนมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าว่า SDLC คืออะไร? มีโมเดลในการทำงานรูปแบบไหนบ้าง พร้อมอธิบายขั้นตอนการทำงานที่ดำเนินตามขั้นตอน SDLC เพื่อผลลัพธ์การทำงานที่มีประสิทธิภาพในแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด

Software Development Life Cycle (SDLC) คืออะไร?

SDLC คือ

Software Development Life Cycle (SDLC) คือวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับดำเนินการสร้างซอฟต์แวร์ให้สำเร็จ ตั้งแต่การวิเคราะห์ ออกแบบ ทดสอบ และบำรุงรักษา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มีระเบียบและเป็นระบบมากขึ้น ช่วยให้สามารถวางแผน ควบคุม และประเมินผลการดำเนินงานได้ง่ายยิ่งขึ้น

ข้อดีของวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDLC)

กระบวนการพัฒนาระบบ (SDLC) ช่วยจัดระบบการทำงานและทำให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น โดยจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนและสามารถบริหารจัดการได้ง่าย ส่งผลให้สามารถติดตามความคืบหน้า ควบคุมคุณภาพ และแก้ไขปัญหาได้ตลอดกระบวนการ นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถวางแผน จัดสรรทรัพยากรเช่น บุคลากร งบประมาณ และระยะเวลาได้อย่างเหมาะสม


นอกจากนี้ SDLC ยังช่วยให้สามารถกำหนดและควบคุมมาตรฐานการทำงานได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีขั้นตอนปฏิบัติและเอกสารรายละเอียดต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรมบุคลากร และการบำรุงรักษาระบบในภายหลัง ลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาด ช่วยให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากร เวลา และงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของซอฟต์แวร์ได้ตลอดทุกขั้นตอน

ทำความรู้จักกับ SDLC Model ให้มากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับ SDLC

ถึงแม้ว่า SDLC จะเป็นกรอบการทำงานหลักที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ก็ยังมีรูปแบบหรือแนวทางปฏิบัติย่อยอื่น ๆ ที่แตกต่างกันออกไปอย่าง SDLC Model ซึ่งในแต่ละ Model จะมีจุดเด่นและขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปตามลักษณะและความซับซ้อนของโครงสร้าง โดย SDLC Model แต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดดังนี้

1. Waterfall Model


รูปแบบ Waterfall Model เป็น SDLC Model แบบเก่าและนิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน มีลักษณะเป็นกระบวนการเชิงเส้นตรงที่แบ่งออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ อย่างชัดเจน โดยจะดำเนินการในแต่ละขั้นตอนจนเสร็จสมบูรณ์แล้วจึงค่อยเริ่มขั้นตอนถัดไป


ซึ่งข้อดีของ Model รูปแบบนี้คือความเป็นระบบและเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับโครงการที่มีขอบเขตและความต้องการที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มแรก แต่จะมีข้อจำกัดในด้านขาดความยืดหยุ่นในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าระหว่างการพัฒนา เนื่องจากแต่ละขั้นตอนจะถูกกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด

2. Iterative Model


รูปแบบ Iterative Model เป็น SDLC Model ที่นำกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มาทำซ้ำเป็นวงรอบ ๆ ซึ่งแต่ละวงรอบจะประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ ครบวงจร ตั้งแต่การวิเคราะห์ความต้องการ ออกแบบ พัฒนา และทดสอบ เมื่อทำครบหนึ่งรอบแล้วก็จะเริ่มรอบใหม่ต่อไปเรื่อย ๆ โดยนำข้อมูลจากรอบก่อนมาปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดในรอบถัดไป


ซึ่งข้อดีของ Model รูปแบบนี้จะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดี เนื่องจากมีการแบ่งการทำงานเป็นช่วงสั้น ๆ แต่ก็จะมีข้อจำกัดในด้านการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากรล่วงหน้า เนื่องจากความต้องการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

3. V-Shaped Model


รูปแบบ V-Shaped Model จะเป็น SDLC Model ที่มีความคล้ายคลึงกับ Waterfall Model แต่มีการเพิ่มขั้นตอนการทดสอบเข้าไปด้วย ทำให้แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาจะมีการทดสอบที่สอดคล้องกัน


ซึ่งข้อดีของ Model รูปแบบนี้คือช่วยให้มีการตรวจสอบและทดสอบอย่างละเอียดในทุก ๆ ขั้นตอน สามารถตรวจพบและแก้ไขข้อบกพร่องได้รวดเร็ว แต่จะมีข้อจำกัดในด้านของความยืดหยุ่นที่หากมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างการพัฒนา จะส่งผลกระทบต่อระยะเวลาและงบประมาณเป็นอย่างมาก

4. Agile Model


รูปแบบ Agile Model เป็น SDLC Model ที่เป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบทีละช่วงสั้น ๆ โดยแบ่งโครงการออกเป็นหลายส่วนย่อยที่เรียกว่า "สปรินต์" (Sprint) ซึ่งในแต่ละสปรินต์จะมีระยะเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ และต้องมีการส่งมอบงานแก่ลูกค้าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้


ซึ่งข้อดีของ Model รูปแบบนี้คือมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ง่ายต่อการเปลี่ยนแปลงความต้องการ เนื่องจากมีการทำงานเป็นรอบสั้น ๆ แต่จะมีข้อจำกัดที่ต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากลูกค้าอย่างใกล้ชิด และทีมงานต้องมีทักษะและประสบการณ์ที่ดีพอในการบริหารจัดการ

5. Spiral Model


รูปแบบ Spiral Model เป็น SDLC Model ที่ผสมผสานระหว่างแนวคิดของ Waterfall Model และ Interative Model โดยจะดำเนินการพัฒนาแบบทีละวงรอบ ซึ่งในแต่ละวงรอบจะมีการวางแผน วิเคราะห์ความเสี่ยง ออกแบบ พัฒนาโปรแกรม และประเมินผล จากนั้นจะทบทวนผลการประเมินและนำมาพิจารณาก่อนจะดำเนินการในวงรอบถัดไป


ซึ่งข้อดีของ Model รูปแบบนี้คือความยืดหยุ่นและการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดความเสี่ยงและให้โอกาสในการพัฒนาปรับปรุงในแต่ละวงรอบ แต่จะมีข้อจำกัดคือต้องอาศัยทีมงานที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง เนื่องจากมีรายละเอียดและขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน

5 ขั้นตอนการทำงานของวงจรการพัฒนาระบบของซอฟต์แวร์ (SDLC)

วงจรการพัฒนาระบบ

สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามวงจรพัฒนาระบบจะมีขั้นตอนในการทำงานทั้งหมด 6 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. การวางแผนและวิเคราะห์ความต้องการ


ในขั้นตอนแรกของ SDLC จะเป็นการวางแผนและวิเคราะห์ความต้องการ โดยทีมงานจะต้องศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ กำหนดขอบเขต เป้าหมาย และรวบรวมรายละเอียดความต้องการของซอฟต์แวร์ทั้งหมด เพื่อนำมาวิเคราะห์และกำหนดเป็นข้อกำหนดฟังก์ชันการทำงานของระบบ

2. การออกแบบระบบ


ขั้นตอนถัดมาของ SDLC จะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาทำการออกแบบโครงสร้างของระบบ โดยแบ่งออกเป็นการออกแบบที่เกี่ยวกับส่วนของผู้ใช้งาน (UI/UX Design) และการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของซอฟต์แวร์ (Technical Design) รวมถึงกำหนดมาตรฐานการเขียนโค้ดและการทำงานของระบบ

3. ดำเนินการพัฒนา


หลังจากที่ทำการออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนถัดมาของ SDLC คือการดำเนินการพัฒนาเขียนโค้ดหรือสร้างซอฟต์แวร์ตามที่ได้ออกแบบไว้ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์และเครื่องมือที่เหมาะสมกับโครงการนั้น ๆ และทำการการทดสอบเพื่อตรวจสอบและค้นหาข้อบกพร่องต่าง ๆ ของซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น

4. ติดตั้ง


เมื่อทดสอบแล้วว่าระบบทำงานได้ตามความต้องการ ก็จะดำเนินการติดตั้งและนำซอฟต์แวร์ไปใช้งานจริงกับผู้ใช้งาน ซึ่งอาจมีการนำร่องใช้งานในวงจำกัดเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและปัญหาอีกครั้งหนึ่งก่อน เพื่อทดสอบและแก้ไขจุดที่ยังบกพร่องก่อนปรับใช้งานในวงกว้าง

5. บำรุงรักษา


เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งและระบบเริ่มถูกใช้งานจริงก็จะถึงขั้นตอนสุดท้ายของ SDLC คือการบำรุงซอฟต์แวร์ โดยการปรับปรุงแก้ไขบางส่วนเพื่อแก้ปัญหาข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป

ความปลอดภัยในการใช้งาน SDLC

ความปลอดภัยเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาซอฟต์แวร์ตามวงจร SDLC เพื่อสร้างระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากการถูกคุกคามและละเมิดข้อมูลสำคัญ ซึ่งในแต่ละขั้นตอนของ SDLC จะมีการดำเนินการด้านความปลอดภัยควบคู่กันไปด้วยเช่น ในขั้นตอนวิเคราะห์ความต้องการจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงและกำหนดข้อกำหนดความปลอดภัยที่ระบบต้องมี หรือในขั้นตอนออกแบบจะต้องคำนึงถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยร่วมด้วย

สรุป

SDLC หรือ Software Development Life Cycle เป็นกรอบการทำงานที่ช่วยให้กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์มีระบบและเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งทำให้สามารถควบคุมคุณภาพ ลดความเสี่ยง และจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า


สำหรับใครที่กำลังมองหา Software Development Outsourcing ที่ให้บริการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน สามารถใช้บริการจากทาง Cube SoftTech ผู้ให้บริการทางด้าน IT service และบริการ end-to-end แบบครบวงจร ที่ใช้ระบบการทำงานของ SDLC ตั้งแต่การวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจไปจนถึงการออกแบบ พัฒนา การใช้งานจริง และการดูแลระบบหลังส่งมอบงานที่มีคุณภาพแบบมืออาชีพ

บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความล่าสุด