NEWS

Professional IT People ~ Innovative IT Solutions
IT Staff Outsourcing Services | IT consultants | Custom Software Solutions

Deepfake คือ
Tags :

Deepfake คืออะไร กลโกงไซเบอร์ยุคใหม่ที่ควรรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ

SHARES               



ถ้าคุณยังไม่รู้ว่า Deepfake คืออะไร บทความนี้คือสิ่งที่คุณ ต้องอ่าน ก่อนจะสายเกินไป ในยุคที่ภาพถ่ายและวิดีโอเคยเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ที่สุด ตอนนี้ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและน่าตกใจ เพราะ Deepfake คือ เทคโนโลยีสุดล้ำที่สามารถปลอมแปลงใบหน้า เสียง หรือแม้แต่ทั้งตัวของบุคคลในวิดีโอได้อย่างแนบเนียน


แค่พริบตาเดียว คุณอาจกลายเป็นเหยื่อในคลิปที่ถูกสร้างขึ้นมาหรือเชื่อข่าวปลอมที่ถูกสร้างจากใบหน้า คนดังอย่างง่ายดาย แล้วแบบนี้การใช้ Deepfake เป็นสิ่งผิดกฎหมายไหม มีวิธีสังเกตอย่างไร บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักทุกแง่มุมของโลก Deepfake ที่ทั้งน่าทึ่งและอันตรายไปพร้อมกัน

Deepfake คืออะไร?

 AI Deep fake

Deepfake คือ เทคโนโลยีที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะเทคนิค Deep Learning คือ ระบบการเรียนรู้เชิงลึกที่เลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ เพื่อสร้างภาพ เสียง หรือวิดีโอที่เหมือนจริงมากจนแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือของปลอม เช่น การเปลี่ยนใบหน้าของคนหนึ่งให้กลายเป็นอีกคนในวิดีโอ


จุดเริ่มต้นของ Deepfake คือการพัฒนาโมเดล AI ที่เรียกว่า Generative AI ปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถ สร้างข้อมูลใหม่ขึ้นมา เช่น สร้างภาพใบหน้าใหม่ เพลงใหม่ หรือแม้แต่เนื้อหาวิดีโอ โดยไม่ต้องอิงข้อมูลเดิมทั้งหมด แต่ใช้หลักการเรียนรู้จากชุดข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งอธิบายได้ด้วยเทคโนโลยี Machine Learning คือ การฝึกให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้จากข้อมูล แล้วพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง


Tips : อ่านข้อมูลเพิ่มเติม Generative AI คือ อะไร?


Deepfake มีหลักการทำงานอย่างไร?

การทำงานของ Deepfake คือ การนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะรูปแบบ AI Deep fake มาสร้างวิดีโอหรือเสียงปลอมให้เหมือนของจริงผ่านการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและจดจำรูปแบบของข้อมูลภาพ เสียง หรือวิดีโอได้ด้วยตัวมันเอง


เบื้องหลังการสร้าง Deepfake ส่วนใหญ่อาศัยโมเดล Autoencoder หรือ GANs (Generative Adversarial Networks) ซึ่งเป็นแก่นของเทคโนโลยี AI ที่สร้างเนื้อหาใหม่ ไม่ใช่แค่จดจำเหมือน AI ทั่วไป


โดยหลักการทำงานของ Deepfake คือ


  • เรียนรู้จากใบหน้าเดิม ระบบจะฝึกให้รู้จักใบหน้าเดิมของบุคคลจากหลายมุม โดยใช้ชุดข้อมูลจำนวนมาก เช่น ภาพนิ่งหรือวิดีโอ เพื่อให้เข้าใจลักษณะเฉพาะของบุคคลนั้น ๆ
  • ถอดรหัสและเข้ารหัส (Encoding-Decoding) โมเดล AI จะถอดรหัส (Encode) ใบหน้าจากวิดีโอต้นฉบับ แล้วเข้ารหัส (Decode) ใหม่ให้เป็นใบหน้าของอีกคนหนึ่งบนร่างเดิม การเข้ารหัสนี้ใช้ความสามารถของ Deep Learning ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลข้อมูลภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนมนุษย์
  • เรียนรู้และปรับแต่งต่อเนื่อง ยิ่งระบบรับข้อมูลมากก็ยิ่งสามารถสังเคราะห์ผลลัพธ์ได้แนบเนียนขึ้น เช่น การขยับปากให้ตรงเสียง (Lip-sync) หรือการปรับแสงเงาในภาพให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วย

ผลกระทบของ Deepfake กับสังคมยุคปัจจุบัน

ในยุคที่ AI ในชีวิตประจําวัน เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งเรื่องความสะดวกสบายและการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ AI ก็เปรียบเสมือนดาบสองคมเพราะเทคโนโลยี Deep fake AI เป็นอีกหนึ่งด้านมืดของความก้าวหน้าทางดิจิทัล โดยสร้างปัญหาร้ายแรงหลายด้านต่อสังคม ได้แก่


  • เผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) Deepfake ถูกใช้สร้างวิดีโอบิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น การปลอมเสียงหรือใบหน้าบุคคลสำคัญเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อข้อมูลผิด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
  • ฉ้อโกงและแอบอ้างตัวตน คนร้ายสามารถใช้ Deepfake ปลอมเป็นผู้บริหารระดับสูง โทรสั่งการลูกน้องให้โอนเงิน หรือปลอมเสียงเพื่อหลอกให้โอนข้อมูลลับขององค์กร หรือที่เห็นได้บ่อยคือมิจฉาชีพที่ปลอมหน้าหรือเสียงแล้วติดต่อมาหลอกให้โอนเงิน เป็นต้น
  • ทำลายชื่อเสียงและคุกคามสิทธิส่วนบุคคล การนำภาพหรือวิดีโอของบุคคลไปตัดต่อในเชิงลบ เช่น วิดีโอละเมิดทางเพศ หรือคลิปพูดจา ไม่เหมาะสม ทำให้เหยื่อต้องเผชิญความอับอายและเสียชื่อเสียง
  • ผลกระทบทางจิตใจ บางกรณี Deepfake คือ เครื่องมือกลั่นแกล้งหรือแบล็กเมล์ ทำให้เหยื่อเกิดความเครียด วิตกกังวล หรือถึงขั้นเสียสุขภาพจิตได้

ตัวอย่างการใช้ Deepfake หลอกลวงให้เกิดผลเสีย

 Deepfake ผิดกฎหมาย

Deepfake คือ นวัตกรรมการใช้ AI ที่กำลังก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกัน โปรแกรม Deepfake ฟรี ก็เริ่มแพร่หลาย ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางเทคนิคก็สามารถสร้างวิดีโอ Deepfake ได้ และด้วยความสามารถของ LLM คือ โมเดลภาษาใหญ่ เช่น ChatGPT 5 ที่ช่วยเขียนสคริปต์ได้อย่างแนบเนียน การใช้ Deepfake จึงกลายเป็นเรื่องน่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง


ถึงแม้ยังไม่มีข้อกฎหมายเฉพาะ แต่ในหลายประเทศเริ่มพิจารณาว่าการใช้ Deepfake ผิดกฎหมาย หากใช้ในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น การหลอกลวงหรือทำลายชื่อเสียงผู้อื่น

โดย Deep Learning คือเทคโนโลยีที่พัฒนามาจาก Machine Learning ให้ระบบ AI สามารถประมวลผลและตัดสินใจได้ด้วยตนเองด้วยโครงสร้างทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Neural Network ซึ่งเลียนแบบการทำงานของระบบประสาทมนุษย์ ทำให้ AI ต้องการข้อมูลจากมนุษย์น้อยลง และ AI จะให้ข้อมูลได้ละเอียดอ่อนมากขึ้น


จากการสนทนากับบอทที่ทำได้แค่รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์คาดการณ์จากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่านั้น สู่การพัฒนาให้ ChatGPT 5 สามารถจัดการข้อมูลและทำงานตามคำสั่งได้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อองค์กรในด้านการจัดการงานต่าง ๆ ได้อย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้น และยังช่วยประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ส่งเข้าระบบเพื่อลดระยะเวลาการทำงานได้


วิธีป้องกันตัวเองจาก Deepfake

ทุกวันนี้การสร้างวิดีโอปลอมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วย AI Tools ที่เปิดให้สามารถสร้างคลิปจากข้อความสั้น ๆ ได้ โดยสิ่งนี้เรียกว่า Prompt คือคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนให้ AI สร้างภาพ เสียง หรือวิดีโอตามต้องการ จึงต้องรู้เท่าทันว่า Deep Fake ดูยังไง โดยวิธีมีดังนี้


  • สังเกตการขยับของริมฝีปากและเสียง หากเสียงกับปากไม่ตรงกัน หรือเสียงดูแปลกไปจากธรรมชาติ เช่น เสียงหุ่นยนต์ เสียงแบนเกินไป หรือไม่มีจังหวะลมหายใจ อาจเป็นสัญญาณของการใช้ Deepfake
  • เช็คแสงและเงาในคลิป ส่วนมากแสงในคลิป Deepfake คือแสงที่ตกกระทบผิดธรรมชาติ เช่น แสงหน้าแรงแต่เงาด้านหลังอ่อน หรือเงาเคลื่อนไม่สัมพันธ์กับทิศทางของแสง
  • ดูการเคลื่อนไหวของใบหน้าและคอ การเคลื่อนไหวที่ไม่ลื่นไหล เช่น หน้ากระตุก คอขยับไม่สัมพันธ์กับเสียง
  • จับผิดบริบทหรือสถานการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล ถ้าเนื้อหาในคลิปดูแปลกเกินจริง เช่น คนสำคัญพูดคำที่ขัดกับบุคลิก หรือพูดในสถานการณ์ที่ไม่ควรพูด อาจต้องตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน
  • ระวังคลิปที่หลุดในช่วงเวลาสำคัญ หากคลิปถูกปล่อยในช่วงเวลาอ่อนไหว เช่น ก่อนการเลือกตั้ง ก่อนข่าวใหญ่ อาจถูกใช้เพื่อปลุกกระแสหรือบิดเบือนสังคม
  • ใช้เครื่องมือช่วยตรวจจับ ปัจจุบันมี AI Detector ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์คลิปว่าเป็นของจริงหรือของปลอม เช่น โปรแกรมตรวจจับความผิดปกติของเฟรมวิดีโอ


Deepfake คือ ความท้าทายที่ต้องรับมือด้วยผู้เชี่ยวชาญ AI ที่ไว้ใจได้

Deepfake ai คือ ตัวอย่างชัดเจนของการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในทางที่มีความเสี่ยงอันตราย ด้วยความสามารถของ Deepfake คือการปลอมแปลงใบหน้า เสียง หรือข้อความให้เหมือนจริง ทำให้หลายองค์กรเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามทางดิจิทัลที่ยากจะตรวจจับ ดังนั้นจึงต้องเตรียมพร้อมทั้งด้านเทคโนโลยีและบุคลากร โดยเฉพาะทีมงานที่เข้าใจ AI และสามารถพัฒนาเครื่องมือตรวจจับและป้องกันภัยไซเบอร์ อย่างมีประสิทธิภาพ


ในจุดนี้เองที่ Cube SoftTech เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน IT Outsource และการส่งออกทีม IT Staff คุณภาพ พร้อมช่วยองค์กรของคุณทั้งด้าน การพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบ AI การวางโครงสร้างฮาร์ดแวร์ ไปจนถึงการสร้างระบบที่ปลอดภัยจากภัยเทคโนโลยี


เยี่ยมชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://www.cubesofttech.com/



บทความที่เกี่ยวข้อง



บทความล่าสุด